โมเลกุล molecule คืออะไร
ความหมายของโมเลกุล
โมเลกุล (Molecule) หมายถึง ส่วนที่เล็กที่สุดของสารประกอบซึ่งยังคงคุณสมบัติของสารนั้นไว้ โมเลกุลประกอบขึ้นด้วยธาตุเดียวหรือหลายธาตุ มายึดติดกันตามโครงสร้างของอะตอม
สิ่งใดที่เรียกว่าโมเลกุล
โมเลกุล (Molecule) คืออนุภาคที่ไม่ซับซ้อนของสสารซึ่งส่งผลกับปฏิกิริยาเคมี มันคือกลุ่มของอะตอม 2-3 อะตอมที่เชื่อมต่อกัน อะตอมอาจเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้
เช่น โมเลกุลของน้ำเกิดจากไฮโดรเจน 2 อะตอมรวมตัวกับออกซิเจน 1 อะตอม
โมเลกุลของออกซิเจนเกิดจากออกซิเจน 2 อะตอมเชื่อมต่อกัน
แล้วโมเลกุลคืออะไร
โมเลกุล คือ หน่วยโครงสร้างที่เล็กที่สุดของธาตุที่สารประกอบซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังเป็นอิสระ และยังคงความเป็นธาตุหรือสารประกอบนั้น ๆ โดยสมบูรณ์ โมเลกุลเกิดจากอะตอมรวมกัน
เคมีน่ารู้
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
โมล (Mole)
โมล
เป็นหน่วยบอกจำนวนอนุภาคของสาร ซึ่งหมายถึงปริมาณของสารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากับจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัม เราทราบแล้วว่าคาร์บอน-12 จำนวน 1 อะตอม มีมวล 12.00 * 1.66 * 10-24 กรัมดังนั้น เราสามารถคำนวณหาจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัมได้ โดยสมมุติให้คาร์บอน 12 กรัมมีจำนวนอนุภาคเท่ากับ a อะตอม เมื่อเขียนในรูปอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนแรกจะเป็นดังนี้
แสดงว่าคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัม ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน 6.024096 * 1023 อะตอม จำนวน 6.02 * 1023 นี้เรียกว่า เลขอาโวกาโดร และกำหนดให้สารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากับเลขอาโวกาโดร คิดเป็นปริมาณ 1 โมล ดังนั้น
สาร 1 โมลมี 6.02 * 1023 อนุภาค
สาร 2 โมลมี 2 * 6.02 * 1023 อนุภาค
สาร 0.5 โมลมี 0.5 * 6.02 * 1023 อนุภาค
การบอกปริมาณของสารเป็นโมล จะทำให้ทราบจำนวนอนุภาคของสารนั้นได้ ปริมาณของสารในหน่วยโมลมีความสัมพันธ์กับปริมาณอื่นๆดังนี้
1. จำนวนโมลของสาร
ธาตุใดๆ ที่มีปริมาณ 6.02 * 1023 อะตอมหรือ 1 โมล จะมีมวลเป็นกรัมเท่ากับมวลอะตอมของธาตุนั้นๆ เช่น แมกนีเซียมมีมวลอะตอมเท่ากับ 24.3 ดังนั้นแมกนีเซียม 1 โมลหรือ 6.02 * 1023 อะตอมจะมีมวล 24.3
สารใดๆ 1 โมลหรือ 6.02 * 1023 โมเลกุลจะมีมวลเป็นกรัมเท่ากับมวลโมเลกุลของสารนั้น เช่น คลอรีนมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 71 ดั้งนั้นคลอรีน 1 โมลหรือ 6.02 * 1023 โมเลกุลจะมีมวล 32 กรัม
2. ปริมาตรต่อโมลของก๊าซ
ปริมาตรของก๊าซเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิและความดัน การบอกปริมาตรของก๊าซจึงต้องระบุอุณหภูมิและความดันไว้ด้วย นักวิทยาศาสตร์กำหนดให้อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และความดัน 1 บรรยากาศเป็นภาวะมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure) และเรียกย่อว่า STP เช่นก๊าซออกซิเจน 32 กรัม (ปริมาณ 1 โมล) มีปริมาตรเท่ากับ 22.4 ลูกบาศก์เดซิเมตรที่ STP หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าปริมาตรต่อโมลของก๊าซออกซิเจนมีค่า 22.4 ลูกบาศก์เดซิเมตรที่ STP
ที่มา : https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic7/mole.html
เป็นหน่วยบอกจำนวนอนุภาคของสาร ซึ่งหมายถึงปริมาณของสารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากับจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัม เราทราบแล้วว่าคาร์บอน-12 จำนวน 1 อะตอม มีมวล 12.00 * 1.66 * 10-24 กรัมดังนั้น เราสามารถคำนวณหาจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัมได้ โดยสมมุติให้คาร์บอน 12 กรัมมีจำนวนอนุภาคเท่ากับ a อะตอม เมื่อเขียนในรูปอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนแรกจะเป็นดังนี้
แสดงว่าคาร์บอน-12 ที่มีมวล 12 กรัม ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน 6.024096 * 1023 อะตอม จำนวน 6.02 * 1023 นี้เรียกว่า เลขอาโวกาโดร และกำหนดให้สารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากับเลขอาโวกาโดร คิดเป็นปริมาณ 1 โมล ดังนั้น
สาร 1 โมลมี 6.02 * 1023 อนุภาค
สาร 2 โมลมี 2 * 6.02 * 1023 อนุภาค
สาร 0.5 โมลมี 0.5 * 6.02 * 1023 อนุภาค
การบอกปริมาณของสารเป็นโมล จะทำให้ทราบจำนวนอนุภาคของสารนั้นได้ ปริมาณของสารในหน่วยโมลมีความสัมพันธ์กับปริมาณอื่นๆดังนี้
1. จำนวนโมลของสาร
ธาตุใดๆ ที่มีปริมาณ 6.02 * 1023 อะตอมหรือ 1 โมล จะมีมวลเป็นกรัมเท่ากับมวลอะตอมของธาตุนั้นๆ เช่น แมกนีเซียมมีมวลอะตอมเท่ากับ 24.3 ดังนั้นแมกนีเซียม 1 โมลหรือ 6.02 * 1023 อะตอมจะมีมวล 24.3
สารใดๆ 1 โมลหรือ 6.02 * 1023 โมเลกุลจะมีมวลเป็นกรัมเท่ากับมวลโมเลกุลของสารนั้น เช่น คลอรีนมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 71 ดั้งนั้นคลอรีน 1 โมลหรือ 6.02 * 1023 โมเลกุลจะมีมวล 32 กรัม
2. ปริมาตรต่อโมลของก๊าซ
ปริมาตรของก๊าซเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิและความดัน การบอกปริมาตรของก๊าซจึงต้องระบุอุณหภูมิและความดันไว้ด้วย นักวิทยาศาสตร์กำหนดให้อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และความดัน 1 บรรยากาศเป็นภาวะมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure) และเรียกย่อว่า STP เช่นก๊าซออกซิเจน 32 กรัม (ปริมาณ 1 โมล) มีปริมาตรเท่ากับ 22.4 ลูกบาศก์เดซิเมตรที่ STP หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าปริมาตรต่อโมลของก๊าซออกซิเจนมีค่า 22.4 ลูกบาศก์เดซิเมตรที่ STP
ที่มา : https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic7/mole.html
วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
การเตรียมสารละลาย
การเตรียมสารละลาย
การเตรียมสารละลาย หมายถึง
การเตรียมสารละลายโดยนำตัวถูกละลายมาเติมตัวทำละลายให้ได้ปริมาตรและความเข้มข้นตามต้องการ
และในการเตรียมต้องทราบ ความเข้มข้นและปริมาตรของสารละลาย
การเตรียมสารละลายจากสารละลายบริสุทธิ์
วิธีการเตรียมสาร
1.
ช่างสารตัวอย่างตามปริมาณที่กำหนดไว้
2. ละลายสารในบีกเกอร์
3. เทสารลงในขวดวัดปริมาตร
4. ล้างบีกเกอร์ด้วยน้ำกลั้นแล้วเทใขวดวัดปริมาตร
5. เขย่าขวดวัดปริมาตรเพื่อให้สารละลายผสมกัน
6. ตั้งขวกปริมาตรเพื่อให้อุณหภูมิของสารละลยลดลง
7. เติมน้ำกลั่นที่ละน้อยจนถึงขีดบอกปริมาตร
8. ส่วนโค้งต่ำสุดของสารละลายอยู่ตรงขีดบอกปรมาตร
9. กลับขวดขึ้นลงให้สารละลายผสมกัน
10. ถ่ายสารละลายที่เตรียมเก็บไว้ในภาชะเก็บสารปิดจุกปิดฉลาดโดยระบุชื่อสาร
สูตรเคมี ความเข้มข้น เละวันที่เตรียมสารแล้วล้างขวดวัดปริมาตรและจุกคว่ำให้แห้ง
ปิดจุกขวดนำไปเก็บในตู้เก็บอุปกรณ์
หลักการ
1. คำนวณหาปริมาณ ( จำนวนโมล ) ของตัวละลายในสารละลายที่ต้องการเตรียม
MV 1,000
2. คำนวณหาปริมาตรของสารละลายที่เข้มข้น
ที่มีจำนวนโมลเท่ากับจำนวนโมลที่คำนวณได้จากข้อ 1 โดยใช้สูตร M1V1 = M2V2
3. ทำสารละลายให้เจือจาง โดยใช้ปิเปตต์ดูดสารละลายเข้มข้นมีปริมาตรเท่ากับปริมาตรที่คำนวณได้
จากข้อ 2
4. เก็บสารละลาย ปิดฉลากให้ชัดเจน
ตัวอย่างที่ 1 จงเตรียมสารละลาย NaOH เข้มข้น 0.2
mol / dm3 จำนวน 40 cm3
วิธีทำ
สารละลาย NaOH 0.2 mol / dm3 หมายถึง
ในสารละลาย 1 dm3 หรือ 1000 Cm3 มีเนื้อNaOH
ละลายอยู่ 0.2 mol หรือ = 0.2 X 40 = 8
ตัวอย่างที่ 2 จงเตรียมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 6 mol/dm3 จำ นวน
60 cm3
วิธีทำ
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 6 mol/dm3 หมายความว่า
ในสารละลาย 1,000 cm3 มีเนื้อสาร
NaOH อยู่ = 6 mol
ถ้า สารละลาย 60 cm3 มีเนื้อสาร NaOH อยู่ = 6 × 60 mol = 0.36 mol
1,000
หรือ = 0.36 × 40 กรัม
=14.4 กรัม
(ตัวเลข 40 มาจากนํ้าหนักโมเลกุลของ
NaOH คือ Na = 23, O = 16, H = 1 รวม
40)
นั่นคือ ชั่ง NaOH มา 14.4 กรัม ละลายในนํ้ากลั่นให้ได้ปริมาตร 60 cm3 จะได้สารละลาย
ตัวอย่างที่ 3 จงเตรียมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 5% โดยนํ้าหนัก จำ นวน 80 cm3
วิธีทำ
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 5% โดยนํ้าหนัก
หมายความว่า
สารละลาย 100 cm3 มีเนื้อสาร NaOH อยู่ = 5 กรัม
ถ้า สารละลาย 80 cm3 จะมีเนื้อสารอยู่
= 5 × 80 = 4 กรัม
100
นั่นคือ ชั่ง NaOH มา 4 กรัม
(ชั่งในบีกเกอร์หรือกระจกนาฬิกา อย่าชั่งบนกระดาษเพราะเป็นสารที่ดูดความชื้น จะทำ ให้กระดาษเปียก) ละลายในนํ้ากลั่นให้ได้ปริมาตร
80 cm3 จะได้สารละลายตามต้องการ
การเตรียมสารละลายจากสารละลายเข้มข้น
หลักการ
1. คำนาณหาปริมาตรของสารละลายเดิมที่ใช้
2. ทำสารละลายให้เจือจาง
3. เก็บการสารละลาย
การทำสารละลายเข้มข้นให้เจือจางลงจำนวนโมลตัวละลายก่อนและหลังการทำให้เจือจางจะมีค่าเท่าเดิม
ดังนั้น C1V1 = C2V2
C1 - ความเข้มข้นสารละลายก่อนเจือจาง (mol/dm3)
C2 - ความเข้มข้นสารละลายหลังเจือจาง (mol/dm3)
V1 - ปริมาตรสารละลายก่อนเจือจาง (dm3)
V2 - ปริมาตรสารละลายหลังเจือจาง (dm3)
ตัวอย่างที่ 4
คำนวณหาปริมาตรสารละลายเดิมที่จะนำเตรียมสารละลายใหม่ต้องการเตรียมสารละลาย KI เข้มข้น 0.1 mol/dm3 จำนวน 100 cm3 จากสารละลาย
KI เข้มข้น 2.0 mol/dm3
วิธีทำ
C1 = 2.0 mol/dm3
C2 = 0.1 mol/dm3
V1 =
? V2 = 100 cm3
C1V1 = C2V2
(2.0 mol/dm3)
V1 = (0.1 mol/dm3) (100 cm3)
V1 = (0.1 mol/dm3)
(100 cm3)
(2.0 mol/dm3)
V1 = 5 cm3
ตัวอย่างที่ 5 จากสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 14.4 mol/dm3 จงเตรียมสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 6.0 mol/dm3 จำ นวน 60 cm3
วิธีทำ จากสูตร C1V1 = C2V2
เมื่อ C1 = ความเข้มข้นของสารละลายที่มีอยู่
(14.4 mol/dm3)
V1 = ปริมาตรของสารละลายที่มีอยู่ซึ่งต้องตวงมา (cm3)
C2 = ความเข้มข้นของสารละลายที่ต้องการ
(6.0 mol/dm3)
V2 = ปริมาตรของสารละลายที่ต้องการ (60 cm3)
แทนค่าในสูตร 14.4 × V1 = 6.0 × 60
∴ V1 = 6.0 × 60 = 25 cm3
14.4
นั่นคือให้ตวงสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 14.4 mol/dm3 25 cm3
แล้วเทลงในบีกเกอร์ที่มีนํ้ากลั่น 35 cm3 จะได้สารละลายตามต้องการ
ตัวอย่างที่ 6 มีสารละลายกรดแอซีติกเข้มข้น 99% โดยนํ้าหนัก จงเตรียมสารละลายกรดแอซีติก
เเข้มข้น 5% โดยนํ้าหนัก จำ นวน 66 cm3
วิธีทำ จากสูตร C1V1
= C2V2
เมื่อ C1 = ความเข้มข้นของสารละลายที่มีอยู่
(99% โดยนํ้าหนัก)
V1 = ปริมาตรของสารละลายที่มีอยู่ซึ่งต้องตวงมา (cm3)
C2 = ความเข้มข้นของสารละลายที่ต้องการ
(5% โดยนํ้าหนัก)
V2 = ปริมาตรของสารละลายที่ต้องการ
(66 cm3)
แทนค่าในสูตร 99
× V1 = 5 × 80
∴ V1 = 5 × 66 = 3.33 cm3
99
นั่นคือให้ตวงสารละลายกรดมา 3.33 cm3 แล้วเทลงในบีกเกอร์ที่มีนํ้ากลั่น
62.77 cm3 ใช้แท่งแก้วคนสารให้เข้ากัน จะได้สารละลายกรดเข้มข้น 5% โดยนํ้าหนัก
ตามต้องการ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)