วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเตรียมสารละลาย

การเตรียมสารละลาย

การเตรียมสารละลาย หมายถึง การเตรียมสารละลายโดยนำตัวถูกละลายมาเติมตัวทำละลายให้ได้ปริมาตรและความเข้มข้นตามต้องการ และในการเตรียมต้องทราบ ความเข้มข้นและปริมาตรของสารละลาย
                                               
การเตรียมสารละลายจากสารละลายบริสุทธิ์
                                  

 วิธีการเตรียมสาร
1.  ช่างสารตัวอย่างตามปริมาณที่กำหนดไว้
2.  ละลายสารในบีกเกอร์
3.  เทสารลงในขวดวัดปริมาตร
4.  ล้างบีกเกอร์ด้วยน้ำกลั้นแล้วเทใขวดวัดปริมาตร
5.  เขย่าขวดวัดปริมาตรเพื่อให้สารละลายผสมกัน
6.  ตั้งขวกปริมาตรเพื่อให้อุณหภูมิของสารละลยลดลง
7.   เติมน้ำกลั่นที่ละน้อยจนถึงขีดบอกปริมาตร 
8.  ส่วนโค้งต่ำสุดของสารละลายอยู่ตรงขีดบอกปรมาตร
9.  กลับขวดขึ้นลงให้สารละลายผสมกัน
10. ถ่ายสารละลายที่เตรียมเก็บไว้ในภาชะเก็บสารปิดจุกปิดฉลาดโดยระบุชื่อสาร สูตรเคมี ความเข้มข้น เละวันที่เตรียมสารแล้วล้างขวดวัดปริมาตรและจุกคว่ำให้แห้ง ปิดจุกขวดนำไปเก็บในตู้เก็บอุปกรณ์
                                                                 
 
   หลักการ
         
1. คำนวณหาปริมาณ ( จำนวนโมล ) ของตัวละลายในสารละลายที่ต้องการเตรียม  MV                                                                                                                                1,000
         
2. คำนวณหาปริมาตรของสารละลายที่เข้มข้น ที่มีจำนวนโมลเท่ากับจำนวนโมลที่คำนวณได้จากข้อ 1 โดยใช้สูตร   M1V1 = M2V2 




         
3. ทำสารละลายให้เจือจาง โดยใช้ปิเปตต์ดูดสารละลายเข้มข้นมีปริมาตรเท่ากับปริมาตรที่คำนวณได้ จากข้อ 2
         
4. เก็บสารละลาย ปิดฉลากให้ชัดเจน

                                   
 ตัวอย่างที่ 1  จงเตรียมสารละลาย NaOH เข้มข้น 0.2 mol / dm3 จำนวน 40 cm3
                          
  วิธีทำ      

 สารละลาย NaOH 0.2 mol / dm3 หมายถึง
                                            
 ในสารละลาย 1 dm3 หรือ 1000 Cm3 มีเนื้อNaOH ละลายอยู่ 0.2 mol หรือ = 0.2 X 40 = 8

                                  
ตัวอย่างที่ 2  จงเตรียมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 6 mol/dm3 จำ นวน 60 cm3
                           
 วิธีทำ     
 
  สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 6 mol/dm3 หมายความว่า 
 
ในสารละลาย 1,000 cm3 มีเนื้อสาร NaOH อยู่      = 6 mol
                                             
ถ้า สารละลาย 60 cm3 มีเนื้อสาร NaOH อยู่           = 6 × 60 mol      = 0.36 mol  
                                                                   1,000
 
หรือ                                                                          = 0.36 × 40 กรัม =14.4 กรัม
                                                                             
                                 

(ตัวเลข 40 มาจากนํ้าหนักโมเลกุลของ NaOH คือ Na = 23, O = 16, H = 1 รวม 40)
              

 นั่นคือ ชั่ง NaOH มา 14.4 กรัม ละลายในนํ้ากลั่นให้ได้ปริมาตร 60 cm3 จะได้สารละลาย





ตัวอย่างที่ 3  จงเตรียมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 5% โดยนํ้าหนัก จำ นวน 80 cm3

วิธีทำ       

สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 5% โดยนํ้าหนัก หมายความว่า
                                               
สารละลาย 100 cm3 มีเนื้อสาร NaOH อยู่ = 5 กรัม
                                                 
ถ้า สารละลาย 80 cm3 จะมีเนื้อสารอยู่ = 5 × 80 = 4 กรัม
                                                                   100
           

 นั่นคือ ชั่ง NaOH มา 4 กรัม (ชั่งในบีกเกอร์หรือกระจกนาฬิกา อย่าชั่งบนกระดาษเพราะเป็นสารที่ดูดความชื้น จะทำ ให้กระดาษเปียก) ละลายในนํ้ากลั่นให้ได้ปริมาตร 80 cm3 จะได้สารละลายตามต้องการ


การเตรียมสารละลายจากสารละลายเข้มข้น
                                               

 หลักการ

    1. คำนาณหาปริมาตรของสารละลายเดิมที่ใช้
    2. ทำสารละลายให้เจือจาง
    3. เก็บการสารละลาย

                            
 การทำสารละลายเข้มข้นให้เจือจางลงจำนวนโมลตัวละลายก่อนและหลังการทำให้เจือจางจะมีค่าเท่าเดิม 

ดังนั้น  C1V1 = C2V2
           
 C1 - ความเข้มข้นสารละลายก่อนเจือจาง (mol/dm3)
             
C2 - ความเข้มข้นสารละลายหลังเจือจาง (mol/dm3)
            
 V1 - ปริมาตรสารละลายก่อนเจือจาง (dm3)
           
 V2 - ปริมาตรสารละลายหลังเจือจาง (dm3)

                                       
 ตัวอย่างที่ 4  คำนวณหาปริมาตรสารละลายเดิมที่จะนำเตรียมสารละลายใหม่ต้องการเตรียมสารละลาย KI เข้มข้น 0.1 mol/dm3 จำนวน 100 cm3 จากสารละลาย KI เข้มข้น 2.0 mol/dm3
                          
 วิธีทำ 

                                           C1 = 2.0 mol/dm3       C2 = 0.1 mol/dm3
                              
                                V1 = ?                         V2 = 100 cm3
                                      

                                              C1V1    =   C2V2
                                     
                          (2.0 mol/dm3) V1    =   (0.1 mol/dm3) (100 cm3)
                                                   V1    =   (0.1 mol/dm3) (100 cm3)
                                                                       (2.0 mol/dm3)
                                                    
                                                   V1    =    5 cm3

                                       
 ตัวอย่างที่ 5  จากสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 14.4 mol/dm3 จงเตรียมสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 6.0 mol/dm3 จำ นวน 60 cm3
                               
 วิธีทำ       จากสูตร      C1V1 = C2V2
                            เมื่อ        C1 = ความเข้มข้นของสารละลายที่มีอยู่ (14.4 mol/dm3)
                                          V1 = ปริมาตรของสารละลายที่มีอยู่ซึ่งต้องตวงมา (cm3)
                                          C2 = ความเข้มข้นของสารละลายที่ต้องการ (6.0 mol/dm3)
                                          V2 = ปริมาตรของสารละลายที่ต้องการ (60 cm3)
                      

  แทนค่าในสูตร                      14.4 × V1 = 6.0 × 60
       


 ∴ V1 = 6.0 × 60 = 25 cm3
   14.4

นั่นคือให้ตวงสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 14.4 mol/dm3 25 cm3 แล้วเทลงในบีกเกอร์ที่มีนํ้ากลั่น 35 cm3 จะได้สารละลายตามต้องการ

                                   
 ตัวอย่างที่ 6  มีสารละลายกรดแอซีติกเข้มข้น 99% โดยนํ้าหนัก จงเตรียมสารละลายกรดแอซีติก เข้มข้น 5% โดยนํ้าหนัก จำ นวน 66 cm3
                          

 วิธีทำ      จากสูตร                C1V1 = C2V2
                            เมื่อ             C1   =   ความเข้มข้นของสารละลายที่มีอยู่ (99% โดยนํ้าหนัก)
                                               V1   =   ปริมาตรของสารละลายที่มีอยู่ซึ่งต้องตวงมา (cm3)
                                                           C2    =   ความเข้มข้นของสารละลายที่ต้องการ (5% โดยนํ้าหนัก)
                                              V2    =    ปริมาตรของสารละลายที่ต้องการ (66 cm3)
                                          
  แทนค่าในสูตร                                     99 × V1 = 5 × 80


∴                  V1 = 5 × 66 = 3.33 cm3
                    99
 
นั่นคือให้ตวงสารละลายกรดมา 3.33 cm3 แล้วเทลงในบีกเกอร์ที่มีนํ้ากลั่น 62.77 cm3 ใช้แท่งแก้วคนสารให้เข้ากัน จะได้สารละลายกรดเข้มข้น 5% โดยนํ้าหนัก ตามต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น