แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การเจือจางของสาร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การเจือจางของสาร แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเจือจางของสาร


การเจือจางของสาร


การเจือจางของสารจำนวนโมลตัวถูกละลายที่มีในสารละลายที่เข้มข้นและสารละลายที่เจือจางจะต้องเท่ากัน



การเตรียมสารละลาย

       
 การเตรียมสารละลายโดยทั่วไปมี  3  ลักษณะคือ
  การนำของแข็งบริสุทธิ์มาละลายในตัวทำละลาย  การนำสารละลาย
ที่มีอยู่แล้วมาทำให้เจือจางหรือเข้มข้นขึ้น  และการนำสารละลายที่มีความเข้มข้นต่างกันมาผสมกัน  ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้สารละลายที่ได้มีความเข้มข้นเปลี่ยนไป  แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการเตรียมสารละลายจากของแข็งบริสุทธิ์ และ
สารละลายที่มีอยู่แล้วทำให้เจือจางลง

การเตรียมสารละลายจากสารบริสุทธิ์
การคำนวณเกี่ยวกับความเข้มข้นของสารละลาย  ในการเตรียมสารละลายให้มีความเข้มข้นต่างๆ  กันนั้น 
 

ขั้นที่ 1  จะต้องคำนวณหาปริมาณตัวละลายที่จะใช้เตรียมสารละลายก่อน  
           โดยทั่วไปแล้วหน่วยความเข้มข้นของสารละลายที่นิยมใช้  คือ หน่วยโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร 
           หรือ โมลต่อลิตร (โมลาร์)  ดังนั้นจึงต้องอาศัยความรู้ในเรื่องโมลเข้ามาเกี่ยวข้อง  สำหรับการคำนวณ
           นั้นสามารถคำนวณได้  3 วิธี  คือ  การคำนวณโดยใช้วิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์  การคำนวณโดย
           เทียบหน่วย  และการคำนวณโดยใช้สูตรต่อไปนี้
 

 ความเข้มข้นในหน่วยโมลาร์          =        จำนวนโมลของตัวละลาย           X   1000 cm3
                                                                  ปริมาตรของสารละลาย  (1 cm3)      1 dm3
 

 เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้     C   =         n X 1000
                                                          V
    หรือ                                 n    =       CV
                                                        1000
  


      NOTE   n  คือ จำนวนโมลของตัวละลาย
                   C  คือ ความเข้มข้น  หน่วย  mol/dm3
                   V  คือ ปริมาตรของสารละลาย  หน่วย  cm3

 


ในการคำนวณการเตรียมสารละลายนิยมใช้สูตร คือ
    


           n       =     g  =             N              =      CV
                           M           6.02X1023             1000   



     g    =   มวลของสารบริสุทธิ์ (ตัวละลาย)  หน่วย กรัม
     M   =   มวลโมเลกุลของตัวละลาย  หน่วย กรัม/โมล
     N    =   จำนวนโมเลกุลตัวละลาย  หน่วย โมเลกุล



 ตัวอย่างที่ 1  ถ้าต้องการเตรียมสารละลาย NaCl ให้มีความเข้มข้น  0.1  mol/dm3 ปริมาตร  250  cm3 
 คำนวณได้ดังนี้


 วิธีแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย


 
  g NaCl     =     250 cm3 สารละลาย   X  0.1 mol NaCl         X  58.5 g NaCl     
                                                                 1000 cm3 สารละลาย      1 mol NaCl
                  =       1.4625  g
 


จะต้องชั่ง  NaCl  จำนวน  1.46  กรัม

วิธีเทียบสัดส่วน




สิ่งที่ต้องทราบ  มวลของ  NaCl              
สิ่งที่กำหนดให้  สารละลาย  NaCl เข้มข้น  0.1  mol/dm3   จำนวน  250  cm3      
             

NaCl  มีมวลโมเลกุล          =  23  +  35.5   =    58.5
 


สารละลาย  NaCl 1000 cm3         =       สารละลาย NaCl 250 cm3
     มี NaCl 0.1 mol                                มี NaCl (mol)
               
 

NaCl (mol)  =      NaCl 0.1 mol X สารละลาย NaCl250 cm3
                                            สารละลาย 1000 cm3    
                    =      0.025 mol
                    =      0.025 X 58.5   =  1.4625  g.
    

จะต้องชั่ง  NaCl  จำนวน  1.4625  กรัม  ละลายน้ำให้มีปริมาตรเป็น  250  cm3      


2.  เตรียมตัวละลาย และทำให้เป็นสารละลาย
     

    ชั่งโซเดียมคลอไรด์ให้ได้  1.4625  กรัม   และนำไปใส่ลงในขวดวัดปริมาตรขนาด  250 cm3 โดยใช้กรวยแก้ว  หลังจากนั้นเทน้ำกลั่นจำนวนเล็กน้อยลงในขวดวัดปริมาตร  และเขย่าขวดเพื่อให้โซเดียมคลอไรด์ละลายจนเป็น
เนื้อเดียวกัน  แล้วจึงค่อยเติมน้ำลงไปจนส่วนโค้งต่ำสุดของสารละลายอยู่ตรงขีดบอกปริมาตรที่บริเวณคอขวด 
ปิดจุกขวดวัดปริมาตรแล้วกลับขวดขึ้นลงจนสารผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  ก็จะได้สารละลายที่มีความเข้มข้นและปริมาตรตามต้องการ
 

3.  เก็บสารละลายและทำฉลากระบุรายละเอียดของสารละลาย
    หลังจากเตรียมสารละลาย  ควรถ่ายสารละลายใส่ภาชนะเก็บสารละลายที่เหมาะสม  ปิดฝาภาชนะให้เรียบร้อย
เพื่อป้องกันตัวทำละลายระเหย  ทำฉลากโดยระบุ  ชื่อสาร  สูตรเคมี  ความเข้มข้น  และวันที่เตรียมสารละลาย

2.  การเตรียมสารละลายจากสารละลายเข้มข้น
        วิธีนี้เป็นการเตรียมสารละลายจากสารละลายเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้เจือจาง (ความเข้มข้นลดลง)ในการที่ความเข้มข้นของสารละลายที่เตรียมขึ้นใหม่จะมีความ ถูกต้องเพียงใด  ขึ้นอยู่กับการวัดปริมาตรสาร  ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาตรต้องมีความเที่ยงตรงสูง  เช่น  ปิเปตต์  ขวดวัดปริมาตรซึ่งมีความเที่ยงตรงสูงกว่ากระบอกตวงหรือบีกเกอร์ 
เช่น  การเตรียมสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต  ความเข้มข้น  0.1 mol/dm3  ปริมาตร  250cm3 จากสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตเข้มข้น 1โมลาร์  มีวิธีการดังต่อไปนี้
 

1.คำนวณหาปริมาตรของสารละลายเดิมที่ต้องใช้
 
วิธีใช้สูตร
สารละลายที่ทำให้เจือจางลงด้วยการเติมน้ำ
สารละลายที่มีการเติมน้ำเพื่อทำให้เจือจางลง  โดยที่ปริมาณตัวละลายคงที่  เปลี่ยนเฉพาะปริมาตรของสารละลาย
 

เพิ่มขึ้นเท่านั้น  ซึ่งเป็นผลทำให้ความเข้มข้นของสารละลายลดลงและความเข้มข้นของสารละลายลดลง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่เติมลงไป

          หลักการคำนวณ

            โมลของตัวละลายก่อนเติมน้ำ         =       โมลของตัวละลายหลังเติมน้ำ
                    

                     C1V1                                      =                    C2V2
                     1000                                                            1000
                 


                     จะได้ C1V1                                 =                    C2V2  
       


C1 ,  C2   เป็นความเข้มข้นของสารละลายก่อนเติมน้ำและหลังเติมน้ำตามลำดับมีหน่วย  mol/dm3
      

 V1,   V2    เป็นปริมาตรของสารละลายก่อนเติมน้ำและหลังเติมน้ำตามลำดับมีหน่วย  cm3
                 


C1V1       =    C2V2
                    
                 

1 X V1    =     0.1X250
                       

    V1       =     25 cm3
 



วิธีเทียบบัญญัติไตรยางค์
 

สารละลาย  1000 cm3  มีโซเดียมคาร์บอเนต    =  0.1 โมล
 

สารละลาย   250  cm3  มีโซเดียมคาร์บอเนต    =  0.1 X 250
                                                                                1000
                                                                           

                                                                           =    0.025 โมล
      

แสดงว่า  สารละลายโซเดียมคาร์บอเนตใหม่ที่ต้องการเตรียมนั้น  ต้องใช้โซเดียมคาร์บอเนต  0.025  โมล 
สารละลายโซเดียมคาร์บอเนตเดิมเข้มข้น  1  mol/dm3
 

ดังนั้น       มีโซเดียมคาร์บอเนต         1  โมล  ในสารละลาย                 1,000  cm3
ต้องการเตรียมโซเดียมคาร์บอเนต  0.025  โมล  ต้องใช้สารละลาย     1,000 X 0.025
                                                                                                                          1
                                                                                                                =    25  cm3
          

 ดังนั้น  ต้องใช้สารละลายโซเดียมคาร์บอเนต  1  mol/dm3     25   cm3

วิธีแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย
 

วิธีที่ 1
 

ขั้นที่ 1  คำนวณหาปริมาณตัวละลาย 


 mol Na2CO3   = 250 cm3 สารละลาย   X   0.1 mol Na2CO3
                                                                       1000 cm3 สารละลาย
                    

                         =          0.025 mol
      



ารละลายที่ต้องการเตรียมมี  Na2CO3   0.025  โมล
 


ขั้นที่ 2  คำนวณหาปริมาตรของสารละลายเดิมที่ต้องนำมาเตรียมสารละลายใหม่ 
โดยใช้ปริมาณตัวละลายที่คำนวณได้จากขั้นที่ 1 
 


cm3 สารละลาย          =  0.025  mol Na2CO3 X 1000 cm3 สารละลาย
                                               1 mol Na2CO3  
  

                                   =   25  cm3
 

วิธีที่ 2
 

ทำเป็นขั้นตอนเดียวโดยคูณปริมาณที่กำหนดให้ด้วยแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน  จะได้ว่า
cm3 สารละลาย     = 250 cm3 สารละลาย    X 0.1 mol Na2CO3 X     1000 cm3 สารละลาย
                                                                         1000 cm3 สารละลาย     1 mol Na2CO3

                              =     25  cm3


2.ทำสารละลายให้เจือจาง 
         ปิเปตต์สารโซเดียมคาร์บอเนตเข้มข้น  1  mol/dm3 มา  25 cm3ใส่ลงในขวดวัดปริมาตรขนาด  250 cm3 
หลังจากนั้นเติมน้ำกลั่นจนส่วนโค้งต่ำสุดของสารละลายอยู่ตรงกับขีดบอก ปริมาตรที่บริเวณคอขวด  ปิดจุกขวดวัดปริมาตรแล้วกลับขวดขึ้นลงเพื่อให้สารผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  จะได้สารละลายโซเดียมคาร์บอเนตเข้มข้น  0.1  mol/dm3  ปริมาตร  250 cm3  ตามต้องการ

3.เก็บสารละลายและทำฉลากระบุรายละเอียดของสารละลาย
        หลังจากเตรียมสารละลาย  ควรถ่ายสารละลายใส่ภาชนะเก็บสารละลายที่เหมาะสม  ปิดฝาภาชนะให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันตัวทำละลายระเหย  ทำฉลากโดยระบุ  ชื่อสาร  สูตรเคมี  ความเข้มข้น  และวันที่เตรียมสารละลาย