วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเจือจางของสาร


การเจือจางของสาร


การเจือจางของสารจำนวนโมลตัวถูกละลายที่มีในสารละลายที่เข้มข้นและสารละลายที่เจือจางจะต้องเท่ากัน



การเตรียมสารละลาย

       
 การเตรียมสารละลายโดยทั่วไปมี  3  ลักษณะคือ
  การนำของแข็งบริสุทธิ์มาละลายในตัวทำละลาย  การนำสารละลาย
ที่มีอยู่แล้วมาทำให้เจือจางหรือเข้มข้นขึ้น  และการนำสารละลายที่มีความเข้มข้นต่างกันมาผสมกัน  ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้สารละลายที่ได้มีความเข้มข้นเปลี่ยนไป  แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการเตรียมสารละลายจากของแข็งบริสุทธิ์ และ
สารละลายที่มีอยู่แล้วทำให้เจือจางลง

การเตรียมสารละลายจากสารบริสุทธิ์
การคำนวณเกี่ยวกับความเข้มข้นของสารละลาย  ในการเตรียมสารละลายให้มีความเข้มข้นต่างๆ  กันนั้น 
 

ขั้นที่ 1  จะต้องคำนวณหาปริมาณตัวละลายที่จะใช้เตรียมสารละลายก่อน  
           โดยทั่วไปแล้วหน่วยความเข้มข้นของสารละลายที่นิยมใช้  คือ หน่วยโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร 
           หรือ โมลต่อลิตร (โมลาร์)  ดังนั้นจึงต้องอาศัยความรู้ในเรื่องโมลเข้ามาเกี่ยวข้อง  สำหรับการคำนวณ
           นั้นสามารถคำนวณได้  3 วิธี  คือ  การคำนวณโดยใช้วิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์  การคำนวณโดย
           เทียบหน่วย  และการคำนวณโดยใช้สูตรต่อไปนี้
 

 ความเข้มข้นในหน่วยโมลาร์          =        จำนวนโมลของตัวละลาย           X   1000 cm3
                                                                  ปริมาตรของสารละลาย  (1 cm3)      1 dm3
 

 เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้     C   =         n X 1000
                                                          V
    หรือ                                 n    =       CV
                                                        1000
  


      NOTE   n  คือ จำนวนโมลของตัวละลาย
                   C  คือ ความเข้มข้น  หน่วย  mol/dm3
                   V  คือ ปริมาตรของสารละลาย  หน่วย  cm3

 


ในการคำนวณการเตรียมสารละลายนิยมใช้สูตร คือ
    


           n       =     g  =             N              =      CV
                           M           6.02X1023             1000   



     g    =   มวลของสารบริสุทธิ์ (ตัวละลาย)  หน่วย กรัม
     M   =   มวลโมเลกุลของตัวละลาย  หน่วย กรัม/โมล
     N    =   จำนวนโมเลกุลตัวละลาย  หน่วย โมเลกุล



 ตัวอย่างที่ 1  ถ้าต้องการเตรียมสารละลาย NaCl ให้มีความเข้มข้น  0.1  mol/dm3 ปริมาตร  250  cm3 
 คำนวณได้ดังนี้


 วิธีแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย


 
  g NaCl     =     250 cm3 สารละลาย   X  0.1 mol NaCl         X  58.5 g NaCl     
                                                                 1000 cm3 สารละลาย      1 mol NaCl
                  =       1.4625  g
 


จะต้องชั่ง  NaCl  จำนวน  1.46  กรัม

วิธีเทียบสัดส่วน




สิ่งที่ต้องทราบ  มวลของ  NaCl              
สิ่งที่กำหนดให้  สารละลาย  NaCl เข้มข้น  0.1  mol/dm3   จำนวน  250  cm3      
             

NaCl  มีมวลโมเลกุล          =  23  +  35.5   =    58.5
 


สารละลาย  NaCl 1000 cm3         =       สารละลาย NaCl 250 cm3
     มี NaCl 0.1 mol                                มี NaCl (mol)
               
 

NaCl (mol)  =      NaCl 0.1 mol X สารละลาย NaCl250 cm3
                                            สารละลาย 1000 cm3    
                    =      0.025 mol
                    =      0.025 X 58.5   =  1.4625  g.
    

จะต้องชั่ง  NaCl  จำนวน  1.4625  กรัม  ละลายน้ำให้มีปริมาตรเป็น  250  cm3      


2.  เตรียมตัวละลาย และทำให้เป็นสารละลาย
     

    ชั่งโซเดียมคลอไรด์ให้ได้  1.4625  กรัม   และนำไปใส่ลงในขวดวัดปริมาตรขนาด  250 cm3 โดยใช้กรวยแก้ว  หลังจากนั้นเทน้ำกลั่นจำนวนเล็กน้อยลงในขวดวัดปริมาตร  และเขย่าขวดเพื่อให้โซเดียมคลอไรด์ละลายจนเป็น
เนื้อเดียวกัน  แล้วจึงค่อยเติมน้ำลงไปจนส่วนโค้งต่ำสุดของสารละลายอยู่ตรงขีดบอกปริมาตรที่บริเวณคอขวด 
ปิดจุกขวดวัดปริมาตรแล้วกลับขวดขึ้นลงจนสารผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  ก็จะได้สารละลายที่มีความเข้มข้นและปริมาตรตามต้องการ
 

3.  เก็บสารละลายและทำฉลากระบุรายละเอียดของสารละลาย
    หลังจากเตรียมสารละลาย  ควรถ่ายสารละลายใส่ภาชนะเก็บสารละลายที่เหมาะสม  ปิดฝาภาชนะให้เรียบร้อย
เพื่อป้องกันตัวทำละลายระเหย  ทำฉลากโดยระบุ  ชื่อสาร  สูตรเคมี  ความเข้มข้น  และวันที่เตรียมสารละลาย

2.  การเตรียมสารละลายจากสารละลายเข้มข้น
        วิธีนี้เป็นการเตรียมสารละลายจากสารละลายเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้เจือจาง (ความเข้มข้นลดลง)ในการที่ความเข้มข้นของสารละลายที่เตรียมขึ้นใหม่จะมีความ ถูกต้องเพียงใด  ขึ้นอยู่กับการวัดปริมาตรสาร  ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้วัดปริมาตรต้องมีความเที่ยงตรงสูง  เช่น  ปิเปตต์  ขวดวัดปริมาตรซึ่งมีความเที่ยงตรงสูงกว่ากระบอกตวงหรือบีกเกอร์ 
เช่น  การเตรียมสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต  ความเข้มข้น  0.1 mol/dm3  ปริมาตร  250cm3 จากสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตเข้มข้น 1โมลาร์  มีวิธีการดังต่อไปนี้
 

1.คำนวณหาปริมาตรของสารละลายเดิมที่ต้องใช้
 
วิธีใช้สูตร
สารละลายที่ทำให้เจือจางลงด้วยการเติมน้ำ
สารละลายที่มีการเติมน้ำเพื่อทำให้เจือจางลง  โดยที่ปริมาณตัวละลายคงที่  เปลี่ยนเฉพาะปริมาตรของสารละลาย
 

เพิ่มขึ้นเท่านั้น  ซึ่งเป็นผลทำให้ความเข้มข้นของสารละลายลดลงและความเข้มข้นของสารละลายลดลง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่เติมลงไป

          หลักการคำนวณ

            โมลของตัวละลายก่อนเติมน้ำ         =       โมลของตัวละลายหลังเติมน้ำ
                    

                     C1V1                                      =                    C2V2
                     1000                                                            1000
                 


                     จะได้ C1V1                                 =                    C2V2  
       


C1 ,  C2   เป็นความเข้มข้นของสารละลายก่อนเติมน้ำและหลังเติมน้ำตามลำดับมีหน่วย  mol/dm3
      

 V1,   V2    เป็นปริมาตรของสารละลายก่อนเติมน้ำและหลังเติมน้ำตามลำดับมีหน่วย  cm3
                 


C1V1       =    C2V2
                    
                 

1 X V1    =     0.1X250
                       

    V1       =     25 cm3
 



วิธีเทียบบัญญัติไตรยางค์
 

สารละลาย  1000 cm3  มีโซเดียมคาร์บอเนต    =  0.1 โมล
 

สารละลาย   250  cm3  มีโซเดียมคาร์บอเนต    =  0.1 X 250
                                                                                1000
                                                                           

                                                                           =    0.025 โมล
      

แสดงว่า  สารละลายโซเดียมคาร์บอเนตใหม่ที่ต้องการเตรียมนั้น  ต้องใช้โซเดียมคาร์บอเนต  0.025  โมล 
สารละลายโซเดียมคาร์บอเนตเดิมเข้มข้น  1  mol/dm3
 

ดังนั้น       มีโซเดียมคาร์บอเนต         1  โมล  ในสารละลาย                 1,000  cm3
ต้องการเตรียมโซเดียมคาร์บอเนต  0.025  โมล  ต้องใช้สารละลาย     1,000 X 0.025
                                                                                                                          1
                                                                                                                =    25  cm3
          

 ดังนั้น  ต้องใช้สารละลายโซเดียมคาร์บอเนต  1  mol/dm3     25   cm3

วิธีแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วย
 

วิธีที่ 1
 

ขั้นที่ 1  คำนวณหาปริมาณตัวละลาย 


 mol Na2CO3   = 250 cm3 สารละลาย   X   0.1 mol Na2CO3
                                                                       1000 cm3 สารละลาย
                    

                         =          0.025 mol
      



ารละลายที่ต้องการเตรียมมี  Na2CO3   0.025  โมล
 


ขั้นที่ 2  คำนวณหาปริมาตรของสารละลายเดิมที่ต้องนำมาเตรียมสารละลายใหม่ 
โดยใช้ปริมาณตัวละลายที่คำนวณได้จากขั้นที่ 1 
 


cm3 สารละลาย          =  0.025  mol Na2CO3 X 1000 cm3 สารละลาย
                                               1 mol Na2CO3  
  

                                   =   25  cm3
 

วิธีที่ 2
 

ทำเป็นขั้นตอนเดียวโดยคูณปริมาณที่กำหนดให้ด้วยแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน  จะได้ว่า
cm3 สารละลาย     = 250 cm3 สารละลาย    X 0.1 mol Na2CO3 X     1000 cm3 สารละลาย
                                                                         1000 cm3 สารละลาย     1 mol Na2CO3

                              =     25  cm3


2.ทำสารละลายให้เจือจาง 
         ปิเปตต์สารโซเดียมคาร์บอเนตเข้มข้น  1  mol/dm3 มา  25 cm3ใส่ลงในขวดวัดปริมาตรขนาด  250 cm3 
หลังจากนั้นเติมน้ำกลั่นจนส่วนโค้งต่ำสุดของสารละลายอยู่ตรงกับขีดบอก ปริมาตรที่บริเวณคอขวด  ปิดจุกขวดวัดปริมาตรแล้วกลับขวดขึ้นลงเพื่อให้สารผสมเป็นเนื้อเดียวกัน  จะได้สารละลายโซเดียมคาร์บอเนตเข้มข้น  0.1  mol/dm3  ปริมาตร  250 cm3  ตามต้องการ

3.เก็บสารละลายและทำฉลากระบุรายละเอียดของสารละลาย
        หลังจากเตรียมสารละลาย  ควรถ่ายสารละลายใส่ภาชนะเก็บสารละลายที่เหมาะสม  ปิดฝาภาชนะให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันตัวทำละลายระเหย  ทำฉลากโดยระบุ  ชื่อสาร  สูตรเคมี  ความเข้มข้น  และวันที่เตรียมสารละลาย

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Capsaisin สารรสเผ็ดของพริก

Capsaicin สารรสเผ็ดของพริก 

 พริก เป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารไทย ที่ชาวไทยนิยมบริโภคกันทุกครัวเรือน ทั้งพริกสด พริกแห้ง พริกดอง และประกอบอยู่ในเครื่องแกงต่างๆ พริกให้ทั้งกลิ่นหอมและรสที่เผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหารพริกเป็นพืชในวงศ์ Solanaceae ในสกุล Capsicum มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน และ หมู่เกาะอินเดียตะวันออก ได้รับการปรับปรุงเป็นพืชปลูกแล้ว 5 ชนิด2 ใน 5 ชนิดที่สำคัญ คือพริกชี้ฟ้า (C.annuumLinn.) และพริกขี้หนู (C.fruesens Linn.) นอกจากนี้ยังมีพริกพันธุ์ป่าอีกประมาณ 25 ชนิด พริกถูกนำมาในประเทศไทยในศตวรรษที่ 16 โดยชาวโปรตุเกสและชาวสเปน



ถิ่นกำเนิด พริกมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปอเมริกาใต้ และการใช้ประโยชน์มานานนับหลายพันปีก่อนการสำรวจพบทวีปอเมริกาของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ด้วยรสชาติที่น่าพิศวง และได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในยุโรป ในชื่อของ พริกแดง (red pepper : Capsicum spp.) ตามลักษณะสีของผล เมื่อเปรียบเทียบกับพริกไทยดำ (black pepper, Piper nigrum L.) ที่นิยมปลูกกันอยู่แล้ว ก่อนแพร่กระจายมายังประเทศต่างๆ ในเอเชีย พริกกับพริกไทย แม้จะมีชื่อว่าพริกเหมือนกัน แต่พืชทั้งสองชนิดไม่มีความเกี่ยวพันกัน พริกเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์โซลานาซิอี (Solanaceae) เช่นเดียวกับมะเขือเทศ มะเขือ มันฝรั่ง ยาสูบ และพิทูเนีย พริกจัดอยู่ในสกุลแคปซิคัม (Capsicum มาจาก ภาษากรีก kapto แปลว่า "กัด") ซึ่งมีประมาณ 25 ชนิด (species) ที่นิยมปลูกกันมีเพียง 5 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ C. annuum L., C. baccatum L., C. chinensis Jacq., C. frutescens L., C. pubescens R. & P. และมีพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นอีกมากมาย พริกนั้นมีชื่อที่ใช้เรียกกันอยู่หลายคำ ได้แก่ pepper, chili, chilli, chile และ capsicum คนไทยอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า chilli 






 พันธุ์พริก

Capsicum annuum L. คำว่า annuum แปลว่า รายปี หรือประจำปี เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกไปทั่วโลก สามารถผสมข้ามพันธุ์ได้ง่าย ทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์นิวเม็กซิโก พันธุ์จาลาปีโน (Jalapeno) พันธุ์เบลล์ (Bell) พันธุ์แวกซ์ (Wax) เป็นต้น ส่วนพันธุ์ที่คนไทยรู้จักกันดี คือ พริกชี้ฟ้า 

Capsicum baccatum L. คำว่า baccatum หมายถึง ผลเป็นพวง (berry like) พริกชนิดนี้มีต้นกำเนิดในเปรูและโบลิเวีย ปัจจุบันแพร่กระจายอยู่ทั่วทวีปเอเมริกาใต้ ตัวอย่างของพันธุ์พริกชนิดนี้ ได้แก่ พริกอาจิ (aji) 

Capsicum chinensis Jacq. คำว่า chinensis หมายถึง มาจากประเทศจีน ทำให้อาจจะเข้าใจผิดว่าพริกนี้มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ความจริงแล้วพริกชนิดนี้มีต้นกำเนิดในแถบแม่น้ำอเมซอน จากนั้นแพร่เข้าสู่แถบแคริบเบียน แล้วแพร่กระจายไปยังอเมริกาตอนกลางและตอนใต้ พริกสำคัญที่จัดอยู่ในชนิดนี้ก็คือ พริกฮาบาเนโร ที่ได้ชื่อว่าเผ็ดที่สุดด้วย 

Capsicum frutescens L. คำว่า frutescens หมายถึง เป็นพุ่มเตี้ย (shrubby of bushy) พริกเด่นในกลุ่มนี้ ได้แก่ พริกทาบาสโก ถือเป็นวัตถุดิบในการทำซอสพริกทาบาสโกอันเลื่องชื่อ และพริกขี้หนูของไทย ที่มีเอกลักษณะความเผ็ดที่โดดเด่นไม่แพ้ใคร 

Capsicum pubescens R. & P. คำว่า pubescens หมายถึง มีขน (hairy) เป็นพริกที่มีต้นกำเนิดในโบลิเวีย แต่ปัจจุบันปลูกกันทั่วทวีปอเมริกาจนถึงอเมริกากลาง พริกพันธุ์ที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ พริกโรโคโท (rocoto) 


ความเผ็ดอยู่ที่ไหน 

    บริเวณที่พบสารแคปไซซินภายในผลพริกนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว หรือเรียกว่า "รก" (placenta) ส่วนของเนื้อผลพริก เปลือกผล และเมล็ดจะมีสารแคปไซซินอยู่น้อยมาก ซึ่งคนทั่วไปมักคิดว่าเมล็ดคือส่วนของพริกที่เผ็ดที่สุด ปริมาณของสารแคปไซซินจะมีความแตกต่างกันออกไปตามชนิดและสายพันธุ์ของพริก กล่าวคือ ปริมาณของสารแคปไซซิน มากน้อยเรียงตามลำดับ ดังนี้คือ พริกขี้หนู 18.2 ppm. (ส่วนในล้านส่วน), พริกเหลือง 16.7 ppm., พริกชี้ฟ้า 4.5 ppm., พริกหยวก 3.8 ppm., พริกหวาน (พริกยักษ์) 1.6 ppm. พริกที่เผ็ดมากจะมีปริมาณแคปไซซินสูงกว่าพริกที่เผ็ดน้อย อย่างไรก็ตามแม้ว่าพริกจะเผ็ดมาก แต่ปริมาณสารแคปไซซิน ก็ไม่ได้มีมากมายเพราะว่าพริกที่มีสารนี้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เผ็ดได้ ตัวอย่างเช่น พริกชี้ฟ้า 1 กิโลกรัม จะสามารถสกัดสารแคปไซซินออกมาได้ 2.13 กรัมเท่านั้น เนื่องจากสารแคปไซซินสามารถละลายในน้ำได้เพียงเล็กน้อย แต่ละลายได้ดีในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์ ดังนั้นถ้าต้องการบรรเทาความเผ็ดของอาหารในปาก ควรดื่มแอลกอฮอล์หรือกินอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบมากกว่าการดื่มน้ำ ซึ่งน้ำที่ดื่มมีผลเพียงช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนได้เท่านั้น ความเผ็ดยังไม่ได้ลดลง เพราะว่าน้ำละลายสารดังกล่าวได้ไม่ดี 


สารพัดประโยชน์จากพริก


 จากข้อมูลของการศึกษาค้นคว้าสามารถสรุปประโยชน์ของพริก ได้ดังนี้ 

1. ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ช่วยให้ระบบการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำมูกหรือลดปริมาณสารที่ขัดขวางระบบการหายใจ ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ ช่วยบรรเทาอาการไอสารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของตัวยาหลายๆ ชนิด นอกจากนั้นสารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ในบริเวณเนื้อเยื่อบุผนังช่องปาก จมูก ลำคอ และปอด 

2. ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด หรือการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน การบริโภคพริกเป็นประจำจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากการอุดตันของเส้นเลือด นับเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว เนื่องจากพริกช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและช่วยลดความดัน เพราะว่าในพริกมีสารจำพวกเบตาแคโรทีนและวิตามิน ซี ซึ่งช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง เพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น 

3. ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเทอรอล สารแคปไซซินช่วยป้องกันมิให้ตับสร้างคอเลสเทอรอลชนิดไม่ดี (LDL-low density lipoprotein) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างคอเลสเทอรอลชนิดดี (HDL-high density lipoprotein) มากขึ้น ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง เป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค 

4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากพริกเป็นพืชผักที่มีวิตามินซีสูง การบริโภคอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยปกป้องการเกิดโรคมะเร็งได้ วิตามินซียับยั้งการสร้างไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร วิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน รวมถึงเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กล้ามเนื้อ และปอด คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเซลล์เนื้อร้ายได้ นอกจากนี้วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) กล่าวคือสามารถยุติหรือขัดขวางบทบาทของอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ จนเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด สารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยลดอัตราการเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอด และในช่องปาก คนที่รับประทานผักที่มีสารเบตาแคโรทีนน้อย จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนที่รับประทานผักที่มีเบตาแคโรทีนสูงถึง 7 เท่า คุณสมบัติของสารเบตาแคโรทีนจะช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์และทำลายเซลล์มะเร็ง สำหรับพริกบางชนิดที่มีสีม่วงจะมีสารพวกแอนโทไซยานิน ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คือ สามารถทำลายอนุมูลอิสระได้เช่นกัน 

5. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน บรรเทาอาการเจ็บคอ และการอักเสบของผิวหนัง เป็นต้น ในปัจจุบันมีการใช้สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้ง ใช้ทาบรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคันและอาการผื่นแดงบริเวณผิวหนัง รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น โรคเกาท์ หรือโรคข้อต่ออักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ผลการทดลองใหม่ๆ ยังบ่งชี้ว่าสารแคปไซซิน ช่วยลดอาการปวดศีรษะและไมเกรนลงได้ 

6. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ดี เนื่องจากสารแคบไซซินมีส่วนในการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร เอนดอร์ฟิน (endorphin มาจากคำว่า endogenous morphine) ขึ้น สารเอนดอร์ฟินเป็นเปปไทด์ขนาดเล็ก (โปรตีนสายสั้นๆ) มีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน คือ บรรเทาอาการเจ็บปวด ในขณะเดียวกันก็สร้างอารมณ์ให้ดีขึ้น ยิ่งรับประทานเข้าไปมากเท่าใด ร่างกายก็จะสร้างเอนดอร์ฟินขึ้นมามากขึ้นเท่านั้น ปกติร่างกายของคนเราจะสร้างสารเอนดอร์ฟินขึ้นภายหลังการออกกำลังกาย ดังนั้นการออกกำลังกายแม้จะทำให้ร่างกายเมื่อยล้า แต่ผู้ออกกำลังกายจะรู้สึกสดชื่น แจ่มใส 

7. พริกเป็นสารป้องกันตัว มีการผลิตสเปรย์ป้องกันตัว โดยมีพริกเป็นส่วนประกอบสำคัญในสารสเปรย์ดังกล่าวนี้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าฉีดเข้าตาโดยตรงจะทำให้ตามองไม่เห็นเป็นเวลา 2-3 นาที ซึ่งนานเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้ ผู้ผลิตอาหารสัตว์บางรายผสมพริกลงในอาหารนก เพื่อป้องกันไม่ให้กระรอกกระแตมาแย่งอาหารนกไปกิน 

8. การใช้พริกในส่วนประกอบอาหารสัตว์เพื่อทดแทนสารปฏิชีวนะ ภายใต้โครงการวิจัยสมุนไพรแทนยาปฏิชีวนะเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรคระบาดในไก่ เป็นต้น พริกยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ตัวอย่างที่อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย เช่น การใช้ไล่แมลงศัตรูพืช ใช้ป้องกันไม่ให้เพรียงมาเกาะท้องเรือ เป็นต้น













ขอบคุณที่มา   :     https://sites.google.com/site/chemistry0987654321/porkaerm-thxng-theiyw/3 
                          http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/article/new128.htm

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ของเหลวและสารละลาย



ของเหลวและสารละลาย
สถานะของสาร มี 3 สถานะ
1.       ของแข็ง
2.       ของเหลว
3.       ก๊าซ
สถานะของสารเกิดจากการเรียงตัวของโมเลกุล
1.       Intermolecular force แรงกระทำระหว่างโมเลกุล
1.1                แรงแวนเดอร์วาวล์
1.2                แรงขั้วคู่ – ขั้วคู่
1.3                แรงพันธะไฮโดรเจน
2.       Intra-molecular force แรงกระทำภายในโมเลกุล =พันธะเคมี
1.1                พันธะไอออนิค
1.2                พันธะโควาเลนต์
1.3                พันธะโลหะ

Note      
1.                   อุณหภูมิสูงแรงดึงดูดต่ำ
2.                   อุณหภูมิต่ำแรงดึงดูดพลังงานสูง (พลงังงานจลน์น้อย)
3.                   อุณหภูมิสูงแรงตึงผิวต่ำ
4.                   น้ำมี Adhesive > cohesive ทำให้เกิดปรากฎการณ์กระทะหงาย
5.                   น้ำชอบเกาะขอบแก้ว
6.                   ยิ่งสูงจุดเดือดยิ่งลดลง
7.                   แรงดึงดูดโมเลกุลมากจุดเดือดสูง
8.                   แรงดึงดูดโมเลกุลน้อยจุดเดือดต่ำ
9.                   จุดเดือดต่ำความดันไอสูง
10.                จุดเดือดสูงความดันได้ต่ำ
11.                จุดเดือดปกติของ ๆ เหลว คือจุดเดือดเมื่อความดันภายนอกเท่ากัน
12.                1  atm  = 760  mmHg

Note       ผลของแรงตึงผิวขึ้นอยู่กับ
1.       แรงดึงระหว่างโมเลกุล
2.       อุณหภูมิ


 

สารละลาย
แยกเป็น
1.       ตัวทำละลาย
2.       ตัวถูกละลาย
Note       ตัวไหนมากกว่าเรียกตัวทำละลาย
สารละลายแบ่งได้ 3 สถานะ
1.       สารละลายแก๊ส
2.       สารละลายในของเหลว
3.       สารละลายของแข็ง
หน่วยความเข้มข้น
1.       ร้อยของตัวถูกละลาย
1.1.  ร้อยโดยมวลหรือน้ำน้ำหนัก         (% w/w)
1.2.  ร้อยโดยปริมาตร           (% v/v )
1.3.  ร้อยละโดยมวล / ปริมาตร (% w/v)
2.       ส่วนในล้านส่วน ( Part per million ; ppm)
3.       เศษส่วนโมล
 

      





1.       ร้อยละโดยมวล (%w/w) คือปริมาณของตัวถูกละลายในมวลของสารละลาย 100 หน่วยมวลเดียวกัน

 2.       ร้อยละโดยปริมาตร (%v/v) คือปริมาตรของตัวถูกละลายในสารละลายปริมาตร 100หน่วยปริมาตรเดียวกัน






Note  สารละลาย Eternal  เข้มข้น 10 % โดยปริมาตร หมายถึง Eternal 10 cm3 ละลายอยู่ในสารละลาย 100 cm3

3.       ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร (%w/v) คือตัวถูกละลายในปริมาณของสารละลาย 100 หน่วยปริมาตร หน่วยมวลและหน่วยปริมาตรต้องให้สอดคล้องกัน
 
Note ถ้าชั่งมวลเป็นกรัม ปริมาตรต้องเป็นมิลลิกรัม, ชั่งเป็นกิโลกรัม ปริมาตรต้องเป็นลิตร





4.       ส่วนในล้านส่วน ( Part per million ; ppm) 
5.       โมลาริติ หรือ โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร (mol/dm3 หรือ mol(ทำละลาย)/l(ถูกละลาย))เป็นหน่วยที่บอกจำนวนโมลของตัวถูกละลายในสารละลาย l/dm3 หน่วยความเข้มข้นเป็น mol/dm3 อาจเรียกย่อได้เป็น โมลาร์ (Molar) ใช้สัญลักษณ์ M





Note       Molar คือหน่วยความเข้มข้น

6.       โมแลลิติ หรือโมลต่อกิโลกรัม (mol/kg) เป็นหน่วยที่บอกจำนวนโมลของตัวถูกละลายที่ละลายในตัวทำละลาย 1 กิโลกรัมจึงมีหน่วยเป็น mol/kg หรือเรียกโมแลล (Molal) ใช้สัญลักษณ์ m